คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

        วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ มีนโยบายเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและบทความที่น่าสนใจแก่ผู้ที่อยู่ในวงการสาธารณสุข โดยเปิดโอกาสให้มีการเสนอบทความประเภทต่างๆทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื้อหาของบทความ ชื่อเรื่อง ควรสั้นและได้ใจความตรงกับวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่อง ควรเขียนด้วยภาษาที่ง่ายกะทัดรัดและชัดเจน ถ้าใช้คำย่อต้องบอกคำเต็มไว้ก่อนครั้งแรก กรณีต้นฉบับที่เป็นภาษาไทย ควรใช้ภาษาไทยให้มากที่สุด ยกเว้นแต่คำภาษาอังกฤษที่แปลไม่ได้ หรือแปลแล้วทำให้ใจความไม่ชัดเจน เอกสารอ้างอิงควรมีทุกบทความ เรื่องที่ส่งมาพิมพ์ ต้องไม่เคยพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อนหรือกำลังรอตีพิมพ์ในวารสารอื่น คณะบรรณาธิการสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตีพิมพ์บทความทุกเรื่อง เรื่องที่ตีพิมพ์แล้วเป็นสมบัติของวารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ ทุกประการ ข้อความและข้อคิดเห็นในเรื่องที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย

คำแนะนำสำหรับการเตรียมต้นฉบับ
    1.    หลักเกณฑ์การพิมพ์ต้นฉบับ
    ส่วนบทคัดย่อ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างและ 1 หน้า
            1.1    พิมพ์กระดาษขาวขนาด A4 รูปแบบตัวอักษรภาษาไทยและ/หรือภาษาอังกฤษ TH SarabunPSKขนาด 14 เว้นระยะห่าง 2 บรรทัด         (เพื่อความสะดวกในการแก้ไขเพิ่มเติมของผู้ทรงคุณวุฒิ)
            1.2    ชื่อเรื่อง (Title) ทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
            1.3    ชื่อผู้เขียน (Authors) ทุกคน พร้อมวุฒิการศึกษาสูงสุด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
            1.4    บทคัดย่อ (Abstract) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 300 คำ
            1.5    คำสำคัญ (Keywords) ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นการกำหนดคำสำคัญที่สามารถนำไปใช้เป็นคำสืบค้นในระบบฐานข้อมูล
            1.6    ผู้นิพนธ์ประสานงาน (Corresponding Author) ให้ทำเครื่องหมาย * ไว้บนนามสกุลและระบุหมายเลข โทรศัพท์และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)
   
    2.    ส่วนเนื้อหาประกอบด้วย
            2.1    คำนำ (Introduction) บอกความสำคัญหรือที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ และอาจรวมการตรวจเอกสาร (Literature review)
            2.2    วิธีการ (Methodology)
            2.3    ผลการศึกษา (Results) และอภิปราย (Discussion) อาจเขียนรวมกันได้
            2.4    ข้อเสนอแนะ (Recommendations)
            2.5    กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) จะมีหรือไม่มีก็ได้
            2.6    เอกสารอ้างอิง (References) ต้องไม่น้อยกว่า 5 เรื่อง เขียนเรียงลำดับตามตัวเลขใช้อ้างอิง
            2.7    รูปกราฟหรือตาราง ให้ใช้ภาษาอังกฤษ จำนวนรูปภาพและตารางรวมกันแล้วไม่เกิน 8 ภาพ/ตาราง
            2.8    ภาพประกอบควรเป็นภาพถ่ายขาว-ดำที่ชัดเจน นอกจากจำเป็นจึงใช้ภาพสี ถ้าเป็นภาพลวดลายเส้นวาดบนกระดาษขนาด A4 โดยใช้หมึกดำ ควรวาดให้สะอาดและลายเส้นคมชัด
   
    3.    ประเภทต่าง ๆ ของงานนิพนธ์
        3.1    รายงานการวิจัย (Research article) ประกอบไปด้วย ชื่อเรื่อง ผู้นิพนธ์และสังกัด บทคัดย่อ/และคำดรรชนี บทนำ วิธีการ ผลวิจารณ์ (รวมทั้งสรุป) เอกสารอ้างอิง
        3.2    บทความวิชาการ (General article) ประกอบไปด้วย ชื่อเรื่อง ผู้นิพนธ์และสังกัด เรื่องย่อหรือบทคัดย่อ/และคำดรรชนี บทนำ รายละเอียดทางวิชาการวิจารณ์ (รวมทั้งสรุป) เอกสารอ้างอิง
        3.3    รายงานผู้ป่วย (Case Report) ประกอบไปด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ บทคัดย่อ/และคำสำคัญ บทนำ รายงานผู้ป่วยวิจารณ์และเอกสารอ้างอิง
        3.4    บทความฟื้นวิชา (Review article) ควรเป็นบทความที่ให้ความรู้ใหม่รวบรวมสิ่งตรวจพบใหม่ ๆ หรือเรื่องที่น่าสนใจที่ผู้อ่านจะนำไปประยุกต์ใช้ ประกอบด้วยบทนำ เนื้อเรื่อง และเอกสารอ้างอิง
        3.5    บทความพิเศษ (Special article) ควรเป็นประสบการณ์ที่ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งในแง่มุมที่ผู้เขียนสนใจ
        3.6    ย่อวารสาร (Journal Abstract) เป็นบทความสั้น ๆ ที่แปลและรวมเรื่องจากวารสารประเภท ที่ตีพิมพ์มาแล้วไม่นาน และเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน
        3.7    บทบรรณาธิการ (Editorial) เป็นบทความที่เขียนวิจารณ์บทความใดบทความหนึ่งที่อยู่ในวารสารฉบับนี้ รวมทั้งเพิ่มเติมความรู้ใหม่ ๆ เพื่อทำให้บทความที่วิจารณ์นั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น หรือบทความอื่นใดที่บรรณาธิการเห็นสมควร

    4.    เอกสารอ้างอิง
           ให้ใช้ระบบ VANCOUVER'SINTERNATIONAL COMMITTEE OF MEDICALJOURNAL EDITORS (คศ.1982) ใส่หมายเลขเรียงลำดับที่อ้างอิงในเนื้อเรื่อง การย่อชื่อวารสารให้ใช้ตาม Index Medicus สำหรับเอกสารอ้างอิงภาษาไทยให้เขียนแบบเดียวกัน แต่ชื่อผู้นิพนธ์ใช้ชื่อเต็มใส่ชื่อตัวก่อนชื่อสกุล และใช้ ปี พ.ศ. ถ้ามีผู้แต่งไม่เกิน 6 คนให้ใส่ชื่อผู้แต่งทุกคน แต่ถ้ามีมากกว่า 6 คนให้ใส่เพียงสามชื่อแรกแล้วเติม et al.

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง
            การเขียนอ้างอิงวารสาร
            ชื่อผู้แต่ง [ไม่เกิน 6 ชื่อ, แทนชื่อที่เกินด้วย et al (คณะ)]. ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสารปีค.ศ.(หรือ พ.ศ.); ฉบับที่: เลขหน้า.
Throckmorton AD, Boughey JC, Boostrom SY, Holifield AC, Stobbs MM, Hoskin T, et al. Postoperative prophylactic antibiotics and surgical site infection rates in breast surgery patients. Ann Surg Oncol 2009;16(9):2464-9.

            การเขียนอ้างอิงหนังสือหรือตำรา
            ชื่อผู้แต่ง (หรือบรรณาธิการ). ชื่อหนังสือ, พิมพ์ครั้งที่, เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์: ปีที่พิมพ์.
Travell JG, Simon DG. Myofascial pain and dysfunction: the trigger point manual, vol1. Baltimore: William & Wilkins; 1983.
อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา. ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง. กรุงเทพฯ: บริษัทอัลตร้าพริ้นติ้ง จำกัด; 2547.

            การเขียนอ้างอิงบทจากหนังสือหรือตำรา
           ชื่อผู้แต่ง, ชื่อบทที่อ้างอิง. ใน(In): ชื่อบรรณาธิการ, editor(s). ชื่อหนังสือ, พิมพ์ครั้งที่ ed. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์. หน้า เลขหน้า.
Iglehart JD, Kaelin CM. Diseases of the breast. In: Townsend CM, Beauchamp RD, Evers BM, Mattox KL, editors. Sabiston textbook of surgery, 17th ed. Philadelphia: Elsevier Saunders; 2004. p.867-928.

            การเขียนอ้างอิงบทความจากสื่ออินเทอร์เน็ต
           มีรูปแบบและองค์ประกอบเช่นเดียวกับบรรณานุกรมที่เผยแพร่ทั่วไปในรูปสิ่งพิมพ์ รายละเอียดที่ควรมี ได้แก่ ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ปีที่ผลิต (เทียบได้กับปีที่พิมพ์) และต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสืบค้นเอกสารนั้นๆ ระบุไว้ ได้แก่ วันที่และเดือนปีที่สืบค้น และยูอาร์แอล
Einstein, A. (2000). Relativity: The special and general theory (R.W. Lawson, Trans.). New York: Bartleby. Com. (printing version was published by Henry Holt, .New York in 1920). Retrieved August21, 2002, from http://www.Bartleby.com/173/

            การส่งต้นฉบับ
            ผู้เขียนต้องส่ง File electronic ผ่านเว็บไซต์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnkp หรือหากมีข้อสงสัยติดต่อได้ที่กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและมาตรฐาน โรงพยาบาลนครพิงค์ โทร. 0-5399-9200 ต่อ 1174 E-mail: nkp.qc.r2r@gmail.com

วารสารวิจัยโรงพยาบาลนครพิงค์เผยแพร่ทางเว็ปไซต์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnkp
**ขั้นตอนการดำเนินการรับบทความลงตีพิมพ์วารสาร โรงพยาบาลนครพิงค์**
พัฒนาโดยฝ่ายพัฒนาระบบคุณภาพและวิจัย
โดยการสนับสนุนของฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ  โรงพยาบาลนครพิงค์
คณะกรรมการบริหารจัดงานวิจัยและวารสาร โรงพยาบาลนครพิงค์
โรงพยาบาลนครพิงค์ 159 หมู่ 10 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180
โทรศัพท์ 053-999200 ต่อ 1174 โทรสาร 053999200 ต่อ 1174
โรงพยาบาลนครพิงค์
Nakornping Hospital
การส่งผลงานเพื่อตีพิมพ์วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์
ผู้เขียนต้องส่ง File electronic ผ่านเว็บไซต์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnkp
หรือหากมีข้อสงสัยติดต่อได้ที่กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการและมาตรฐาน โรงพยาบาลนครพิงค์
โทร. 0-5399-9200 ต่อ 1174 E-mail: nkp.qc.r2r@gmail.com

กำหนดออก
ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม - มิถุนายน, กรกฏาคม - ธันวาคม)